วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วันสุนทรภู่

สุนทรภู่ หรือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย สุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าจากกันฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง จ.ระยอง ส่วนมารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่) ได้แต่งงาน มีสามีใหม่และมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คนเป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม ตัวสุนทรภู่เองได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก สุนทรภู่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน สันทัดทั้งสักวาและเพลงยาว เมื่อรุ่นหนุ่มเกิดรักใคร่ชอบพอกับนาง ข้าหลวงในวังหลัง ชื่อแม่จัน ครั้นความทราบถึงกรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็กริ้ว รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และจันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี
พ.ศ. ๒๓๔๙ ทั้งสองก็พ้นโทษออกมา เพราะเป็นประเพณีแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษ เพื่ออุทิศ ส่วนพระ ราชกุศลแด่ พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เมื่อเสด็จสวรรคตหรือทิวงคตแล้ว แม้จะพ้นโทษ สุนทรภ ู่และจันก็ยังมิอาจสมหวังในรัก สุนทรภู่ถูกใช้ไปชลบุรี สุนทรภู่ได้เดินทางเลยไปถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัด ระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกันกว่า ๒๐ ปี สุนทรภู่เกิดล้มเจ็บหนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ ก็ล่วง ถึง เดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙ หลังจากกลับจากเมืองแกลง สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ ์ พระโอรสองค์เล็กของกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ในช่วงนี้ สุนทรภู่ก็สมหวังในรัก ได้แม่จันเป็นภรรยาสุนทรภู่คงเป็นคนเจ้าชู้ แต่งงานได้ไม่นานก็เกิดระหองระแหงกับแม่จัน ยังไม่ทันคืนดี สุนทรภู่ก็ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา สุนทรภ ู่ได้แต่งนิราศ เรื่องที่สองขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๓ ปี
พ.ศ.๒๓๕๐ สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน ๑ คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนักในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกล (เจ้าครอกทองอยู่) ได้รับอุปการะหนูพัดไว ้ ชีวิตของท่านสุนทรภู่ช่วงนี้คงโศกเศร้ามิใช่น้อย ประวัติชีวิตของสุนทรภู่ในช่วงปี
พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙ ก่อนเข้ารับราชการ ไม่ชัดแจ้ง แต่เชื่อว่าท่าน หนีความเศร้าออกไปเพชรบุรี ทำไร่ ทำนา อยู่กับหม่อมบุญนาค ในพระราชวังหลัง นักเลงกลอนอย่างท่านสุนทรภู่ ทำไร่ทำนาอยู่นานก็ชักเบื่อ ด้วยเลือดนัก กลอนทำให้ท่านกลับมากรุงเทพฯ หากินทางรับจ้างแต่งเพลงยาว บอกบทสักวา จนถึงบอก บทละคร นอก บางทีนิทานเรื่องแรกของ ท่านคงจะแต่งขึ้นในช่วงนี้ การที่เกิดมีนิทานเรื่องใหม่ๆ ทำให้เป็นที่สนใจมาก เพราะ สมัยนั้นมีแต่กลอนนิทานจักรๆ วงศ์ๆ ไม่กี่เรื่อง ซ้ำไปซ้ำมาจนคนอ่าน คนดูรู้เรื่องตลอดหมดแล้ว นิทานของ ท่านทำให้นายบุญยัง เจ้าของคณะละครนอกชื่อดัง ในสมัยนั้นมาติดต่อว่าจ้างสุนทรภู่ ท่านจึงได้ร่วมคณะละคร เป็นทั้งคนแต่งบทและบอกบทเดินทางเร่ร่อนไปกับคณะละครจนทั่ว รับราชการครั้งแรก ก็สมัยพระ พุทธเลิศ หล้านนภาลัย ที่ได้อาจจะมาจากมูลเหตูที่รัชกาลที่ 2 ชอบบทกลอนเหมือนกัน แต่หลังจากรัชกาลที่ 2 เสด็จ สวรรคต นอกจาก แผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุด ในชีวิตได้เป็นถึง กวีที่ ปรึกษา ในราชสำนัก ก็หมดวาสนาไปด้วย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ถึง เหตุที่สุนทรภู่ ไม่กล้า รับราชการต่อใน แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ดังนี้ "เล่ากันว่า เมื่อทรงพระราชนิพนธ์ บทละคร เรื่องอิเหนา ทรงแต่งตอนนางบุษบาเล่นธาร เมื่อท้าว ดาหาไปใช้บน พระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงแต่ง "เมื่อทรงแต่งแล้ว ถึงวันจะอ่านถวายตัว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งวานสุนทรภู่ ตรวจดูเสียก่อน สุนทรภู่อ่านแล้วกราบทูลว่า เห็นดีอยู่แล้ว ครั้นเสด็จออก เมื่อโปรดให้อ่านต่อหน้ากวีที่ทรง ปรึกษาพร้อมกัน ถึงบทแห่งหนึ่งว่า " 'น้ำใสไหลเย็นแลเห็นตัว ปลาแหวกกอบัวอยู่ไหวไหว' "สุนทรภู่ติว่ายังไม่ดี ขอแก้เป็น " 'น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา ว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว' "โปรดตามที่สุนทรภู่แก้ พอเสด็จขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็กริ้ว ดำรัสว่า เมื่อ ขอให้ตรวจทำไมจึงไม่แก้ไข แกล้งนิ่งเอาไปไว้ติหักหน้ากลางคัน เป็นเรื่องที่ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ครั้ง หนึ่ง "อีกครั้งหนึ่ง รับสั่งให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งบทละครเรื่องสังข์ทอง ตอน ท้าว สามลจะให้ลูกสาวเลือกคู่ ทรงแต่งคำปรารภของท้าวสามลว่า " 'จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้ว สมมาด ปรารถนา' " ครั้นถึงเวลาอ่านถวาย สุนทรภู่ถามขึ้นว่า 'ลูกปรารถนาอะไร' พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องแก้ว่า " 'จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้วมีคู่เสน่หา' "ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ว่าแกล้งประมาทอีกครั้งหนึ่ง แต่นั้นก็ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมึนตึงต่อสุนทรภู่มาจนตลอดรัชกาลที่ ๒ ... " จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เพียงคิดได้ด้วยเฉพาะหน้าตรงนั้นก็ตาม สุนทรภู่ก็ได้ทำการไม่เป็นที่พอ พระราชหฤทัย ประกอบกับความอาลัยเสียใจหนักหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ จึงลาออกจากราชการ และตั้งใจบวชเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ เมื่อกลับจากกรุงเก่า พระสุนทรภู่ได้ไปจำพรรษาอยู่ท ี่วัดอรุณ ราชวรารามหรือวัดแจ้ง
ปี พ.ศ.๒๓๗๒เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงฝากเจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้า ปิ๋ว พระโอรสองค์กลางและองค์น้อยให้เป็นศิษย์สุนทรภู่ การมีศิษย์ชั้นเจ้าฟ้าเช่นนี้จึงทำให้พระสุนทรภ ู่สุข สบาย ขึ้นพระสุนทรภู่อยู่วัดอรุณฯ ราว ๒ ปี จึงข้ามฟากมาจำพรรษาอยู่ท ี่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เล่ากันถึงสาเหตุที่พระสุนทรภู่ย้ายวัดมา ก็เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงชัก ชวนให้มาอยู่ด้วยกัน สมเด็จฯ ทรงเป็นกวีองค์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์หนึ่ง เชื่อว่าคงจะทรงคุ้นเคย กับสุนทรภู่ในฐานะที่เป็นกวีด้วยกัน โดยเฉพาะสมัยที่สุนทรภู่เป็นขุนสุนทรโวหารในรัชกาลที่ ๒ ชีพจรลงเท้า สุนทรภู่อีกครั้งเมื่อท่านเกิดไปสนใจเรื่องเล่นแร่แปรธาตุและยาอายุวัฒนะ ถึงแก่อุตสาหะไปค้นหา ทำให้เกิดนิราศ วัดเจ้าฟ้า และนิราศสุพรรณปี
พ.ศ.๒๓๘๓ สุนทรภู่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ท่านอยู่ที่นี่ได้ ๓ พรรษา คืนหนึ่งเกิดฝันร้าย ว่าชะตาขาด จะถึงแก่ชีวิต จึงได้แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งทำให้ทราบเรื่องราวในชีวิตของท่านอีกเป็นอันมาก จากนั้นจึงลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ เพื่อเตรียมตัวจะตาย

วันไหว้ครู

เดือนมิถุนายนวนเวียนมาถึงอีกครั้ง บรรดานักเรียนทั้งหลายคงจำกันได้ดีว่า วันพฤหัสบดีแรกของเดือนมิถุนายน จะเป็นวันไหว้ครู ซึ่งตามโรงเรียนต่างๆ ก็จะมีพิธีการระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์.... ซึ่งวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับการไหว้ครูแบบดั้งเดิมในสมัยโบราณ ... ส่วนจะมีความแตกต่างจากปัจจุบันหรือไม่ อย่างไรนั้นลองไปอ่านดูกันเลย… แต่ก่อนอื่นกระปุกดอทคอมจะพาไปทำความรู้ถึงความหมายของ วันไหว้ครู รวมทั้งที่ไปที่มาของคำว่า "ครู" กันก่อนค่ะ

          "ครู" มีความหมายว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า "หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคนๆหนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคนๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็กๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน

          ด้วยเหตุนี้เอง "การบูชาครู" หรือ "การไหว้ครู" จึงเป็นประเพณีสำคัญที่มีมาแต่โบราณ และมีอยู่ในแทบทุกสาขาอาชีพของคนไทย ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพ และระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชาความรู้ให้ ทำให้เราสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต

          ในความหมายของ "การไหว้ครู" ก็คือ การที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจ ว่าท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตัวรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุปลายทางแห่งการศึกษาตามที่ตั้งใจเอาไว้ ซึ่งการไหว้ครูนี้ นอกจากจะเป็นธรรมเนียมอันดีงามที่มีส่วนโน้มน้าวจิตใจคนให้รักษาคุณความดี และช่วยธำรงรักษาวิทยาการให้สืบเนื่องต่อไปแล้ว การที่ศิษย์แสดงความเคารพยอมรับนับถือครูตั้งแต่เบื้องต้น ก็มีส่วนทำให้ครูเกิดความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ อยากมอบวิชาความรู้ให้อย่างเต็มที่ และศิษย์เองก็จะมีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด เกิดมั่นใจว่าตนจะมีผู้คุ้มครองดูแล สั่งสอนให้ไปสู่หนทางแห่งความดีงาม และความเจริญก้าวหน้าแน่นอน

          พิธีไหว้ครู หรือ การไหว้ครู นี้มีหลายอย่าง เช่น การไหว้ครูนาฏศิลป์ ไหว้ครูดนตรี ไหว้ครูโหราศาสตร์ ไหว้ครูแพทย์แผนไทย เป็นต้น ซึ่งแต่ละอย่างก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไป เมื่อเอ่ยถึง พิธีไหว้ครู เรามักจะหมายถึง การไหว้ครูในสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำในช่วงเปิดภาคการศึกษา


พานไหว้ครู
พานไหว้ครู ใน วันไหว้ครู